News & Updates

Another Win of E4: Estetrol (E4) combined with DRSP shows promising results in endometriosis-associated pain
Another Win of E4: Estetrol (E4) combined with DRSP shows promising results in endometriosis-associated pain
15 Nov 2024 byรศ. นพ.ประสงค์ ตันมหาสมุทร

ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่ประกอบด้วย Estetrol (E4) และ Drospirenone (DRSP) มีประสิทธิภาพในการลดอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังจากโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ได้อย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาประสิทธิภาพของยา E4/DRSP กับยาหลอกในสตรีชาวญี่ปุ่นที่เป็นโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ จำนวน 162 ราย พบว่ากลุ่มที่ได้รับ E4/DRSP มีอาการปวดลดลงจากตอนเริ่มการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ (point estimate of the group difference เท่ากับ -8.5 mm; p=0.028) นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มที่ได้รับ E4/DRSP มีค่าเฉลี่ยของขนาด ovarian endometrioma ลดลงถึงร้อยละ 44.5 เมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น และยังพบว่าผู้ป่วยมีการรบกวนกิจวัตรประจำวันและการนอนหลับที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในด้านความปลอดภัย พบว่า E4/DRSP มีผลต่อค่าการแข็งตัวของเลือดน้อยกว่ายาคุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของ estrogen สูตรอื่น ๆ ทำให้ E4/DRSP อาจเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ได 

Another Win of E4: Estetrol (E4) combined with DRSP shows promising results in endometriosis-associated pain
15 Nov 2024
To Obesity and Beyond: The Effects of GLP-1 RA for Weight Managements on Cardiovascular Health
To Obesity and Beyond: The Effects of GLP-1 RA for Weight Managements on Cardiovascular Health
14 Nov 2024 byรศ. พญ.อรินทยา พรหมินธิกุล; อ. นพ.ปริญญ์ วาทีสาธกกิจ; ผศ. นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์

2024 European Society of Cardiology (ESC) ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการลดน้ำหนัก เนื่องจากโรคอ้วนมีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease; CVD) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมถึงภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งอาจมีความรุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย

To Obesity and Beyond: The Effects of GLP-1 RA for Weight Managements on Cardiovascular Health
14 Nov 2024
Partnering for Diabetes Care การเลือกใช้ยา Semaglutide รูปแบบรับประทาน และการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Partnering for Diabetes Care การเลือกใช้ยา Semaglutide รูปแบบรับประทาน และการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
13 Sep 2024 byผศ. นพ.สุรณัฐ เจริญศรี

ยา semaglutide รูปแบบรับประทานเป็นยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเป็นยาตัวแรกในกลุ่ม glucagon-like peptide-1 receptor agonists (GLP-1 RAs) ที่ได้รับการพัฒนาเป็นยารูปแบบรับประทาน ซึ่งเดิมยากลุ่มนี้มีการบริหารยาในรูปแบบฉีดเท่านั้น

 

จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) และการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย (network meta-analysis) ของการศึกษากลุ่มประชากรผู้ป่วยที่เป็น type 2 diabetes ซึ่งได้รับการรักษาด้วย basal insulin แต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลได้ตามเป้าหมาย โดยเปรียบเทียบระหว่างยา semaglutide 14 mg รูปแบบรับประทานกับยาในกลุ่ม GLP-1 RAs ตัวอื่นพบว่า ผลในการลดระดับ HbA1c เทียบได้กับยา GLP-1 RAs ตัวอื่น อีกทั้งมีความทนต่อยาที่ใกล้เคียงกัน จึงเป็นทางเลือกให้ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการฉีดยาหรือไม่สะดวกใช้ยาฉีดสามารถเข้าถึงยาในกลุ่ม GLP-1 RAs ได้

 

นอกจากนี้ บทความนี้ยังนำเสนอข้อควรพิจารณาในการใช้ยาและข้อห้ามใช้ยาในผู้ป่วยที่มี health condition แตกต่างกันไป คำแนะนำในการรับประทานยาและการปฏิบัติตนของผู้ป่วย รวมถึงข้อควรระวังในการใช้ยา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาแก่ผู้ป่วย

Partnering for Diabetes Care การเลือกใช้ยา Semaglutide รูปแบบรับประทาน และการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
13 Sep 2024
กรณีศึกษาทางคลินิกของผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-elevation myocardial infarction (STEMI) ที่ไม่ใช่ผู้ส
กรณีศึกษาทางคลินิกของผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-elevation myocardial infarction (STEMI) ที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุและมีระดับ LDL-C สูงมาก
06 Sep 2024 byอ. นพ.โชติช่วง ทินกร ณ อยุธยา

ผู้ป่วยชายอายุ 44 ปี มีอาการเจ็บหน้าอกขณะพักเป็นเวลา 90 นาที ซึ่งเกิดขณะหลับและไม่เคยมีอาการเช่นนี้มาก่อน อาการเจ็บมีลักษณะปวดตื้อ ๆ ลึก ๆ (dull aching) และปวดลามไปถึงขากรรไกรด้านซ้าย อาการไม่ทุเลาลงเมื่อนั่งพัก ไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ  ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มียาที่ใช้ประจำ ได้รับการวินิจฉัยเป็น acute STEMI ที่ anteroseptal wall ผลการประเมินปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมพบว่า ผู้ป่วยมี BMI 33.9 kg/m2, HbA1c 14.3%, LDL-C 211 mg/dL แพทย์พิจารณาเริ่มให้ยา high intensity statin ร่วมกับ ezetimibe และยากลุ่ม PCSK9 inhibitors เพื่อให้สามารถลดระดับ LDL-C ของผู้ป่วยรายนี้ให้ได้ตามเป้าหมาย คือ ต่ำกว่า 55 mg/dL หรือคิดเป็น 73% จาก baseline ซึ่งการใช้ยาร่วมกันสามชนิดมีอัตราความสำเร็จในการลดระดับไขมันได้ถึง 85% โดยประมาณ 

กรณีศึกษาทางคลินิกของผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-elevation myocardial infarction (STEMI) ที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุและมีระดับ LDL-C สูงมาก
06 Sep 2024